การบริโภคไขมัน และน้ำมันพร้อมกับ แคโรทีนอยด์ จะช่วยเพิ่ม การดูดซึมแคโรทีนอยด์ ได้ร้อยละ 5-25 การบริโภคบีตา-แคโรทีนจากแหล่งธรรมชาติจะทำให้ได้รับสารแคโรทีนอยด์ชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น แอลฟา-แคโรทีน แคนโทแซนทีน แกมมา-แคโรทีน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant)
แหล่งอาหารของบีตา-แคโรทีน
อาหารประเภทผักและผลไม้ที่มีแคโรทีนอยด์สูง ได้แก่ ผักที่มีสีเขียวเข้ม และผลไม้ที่มีสีเหลือง สีส้ม เช่น ผักหวาน ผักตำลึง ผักกวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ชะอม ฟักทอง มะม่วงสุก มะละกอสุก มะเขือเทศสุก แตงไท และอะโวกาโด เป็นต้น
ปริมาบีตา-แคโรทีนจะลดลงได้จากการประกอบอาหาร เช่น ต้ม นึ่ง (steaming) ผัด ที่ใช้ความร้อนสูงเป็นเวลานาน