“มี รามเกียรติ์ เกิดขึ้นใหม่ทุกวัน ทุกแห่งหน ทุกผู้คน ไม่เว้นแม้แต่ในโลกของหุ่นยนต์”
“สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล / บ้านอิทธิฤทธิ์ / ซูเปอร์จิ๋ว / เวิร์คพอยท์ พิคเจอร์ส”
สุดภูมิใจที่ได้ร่วมกันสร้างฝันครั้งใหญ่ยิ่งกับอภิมหากาพย์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยที่มีชื่อสั้นๆ ว่า
“ยักษ์” สามารถดูได้ที่ ดูหนังออนไลน์
ด้วยแรงบันดาลใจในตัวละครคลาสสิกจากมหากาพย์รามายณะ ราม, หนุมาน, ทศกัณฐ์ ฯลฯ
จุดประกายไอเดียให้เขียนเรื่องขึ้นมาใหม่ก่อนกำกับทุกภาพให้โลดแล่นเป็นการ์ตูนโดย
“ประภาส ชลศรานนท์”
พร้อมร่วมเดินทางสร้างสรรค์จินตนาการภาพและเสียงให้เคลื่อนไหวอย่างมหัศจรรย์
จากหลากหลายศิลปินแห่งยุคในแขนงต่างๆ มาร่วมเนรมิต “ยักษ์” ที่เรารักให้แผลงฤทธิ์บนผืนโลกใบนี้
4 ตุลาคมนี้ ถึงเวลาที่เรามั่นใจและเชื่อว่าทุกคนจะรัก “ยักษ์” เหมือนที่เรา “รัก”
เจ้าหุ่นตัวหนึ่งใหญ่ยักษ์สมร่างชื่อ “น้าเขียว” บ่งบอกตามลักษณะสีอันเป็นเอกลักษณ์ดูน่าเกรงขาม กับ “เจ้าเผือก” หุ่นกระป๋องมินิตัวเล็กประเมินจากสภาพจากพวกค้าหุ่นยนต์เก่าบอกได้คำเดียวว่าไร้ราคา แต่กลับกลายเป็นว่าเจ้าหุ่น 2 ตัวต่างตื่นขึ้นมาจากการถูกขุดขึ้นพร้อมกับสภาวะหน่วยความจำเสื่อม ไม่จำอดีต ไม่รู้อนาคต แถมยังมีโซ่พิเศษที่ตัดเท่าไหร่ก็ตัดไม่ขาดผูกล่ามติดกัน
หนำซ้ำงานนี้พอทั้งคู่ตื่นขึ้นมาก็อาละวาดซะจนเมืองขายของเก่ากระเจิดกระเจิงราบเป็นหน้ากลอง ทำให้ทั้งคู่ต้องหนีและกลายเป็นร่วมผจญภัยไปด้วยกันอย่างไม่มีทางเลือก ทีแรกดูเผินๆ ต่างฝ่ายต่างเป็นส่วนเกินของกันและกัน แต่ตลอดการเดินทางกลับมีเรื่องราวหลากหลายเกิดขึ้นทำให้ทั้งคู่กลายเป็น “ฮีโร่” โดยไม่รู้ตัว สร้างความผูกผันให้กับทั้งน้าเขียวและเจ้าเผือกก่อเกิดเป็นมิตรภาพที่ทำให้ส่วนเกินกลายแปรเปลี่ยนเป็นส่วนเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไปของทั้งคู่ และจนวันหนึ่งที่พวกเขาพร้อมจะเป็นเพื่อนสนิทด้วยความเต็มใจ กลับเป็นวันที่ต้องรู้ว่า แท้จริงแล้วตัวตนของพวกเขาคือใคร หน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจะต้องดำเนินต่อไป ทำให้ต้องเลือกระหว่าง “มิตรภาพ” กับ “หน้าที่” สิ่งใดสำคัญกว่ากัน
สิ่งละอันพันละน้อยหลอมรวมเป็นแอนิเมชั่นชวนยิ้ม “ยักษ์”
ที่มา:
- ก่อนจะใช้ชื่อว่า “บ้านอิทธิฤทธิ์” บริษัทนี้เคยเกือบจะได้ใช้ชื่อว่า “ฤาษี”
- “จิก ประภาส” และ “เอ็กซ์ ชัยพร” มีความชอบในลายเส้นของ “รงค์” (ณรงค์ ประภาสะโนบล) นักเขียนการ์ตูนในหนังสือ “ชัยพฤกษ์การ์ตูน” เหมือนกันโดยไม่ตั้งใจ
- จุดเริ่มต้นของการนำ “รามเกียรติ์” มาสร้างเป็นแอนิเมชั่นเกิดจากขั้นตอนการประชุมทีมงานเพื่อวางเรื่อง แต่มีคนๆ หนึ่งเขียนชื่อลงไปในกระดาษผิดจาก “รามเกียรติ์” เป็น “รามเกียร์” เลยได้ไอเดียว่าถ้าเป็นโลกของหุ่นยนต์ขึ้นมาจะเป็นอย่างไร
- ชื่อเรื่อง “ยักษ์” นี้ ประภาสไม่เคยคิดเป็นชื่ออื่นเลย เพราะพอได้ไอเดียว่าเป็น “รามเกียรติ์” แล้ว ตัวละครแรกที่ตั้งใจใช้เป็นตัวเอกก็คือ “ทศกัณฐ์” เพราะเป็นตัวละครที่เขาชอบมากที่สุด จนถึงกับเอามาตั้งเป็นชื่อรายการ “เกมทศกัณฐ์” จนโด่งดังมาแล้ว เหตุที่ชอบเพราะรู้สึกว่าเป็นตัวละครที่น่าสนใจ และทึ่งกับความคิดสร้างสรรค์ของการออกแบบให้มี 10 หน้า 20 แขน 20 มือ
ตัวละคร:
- ต้นแบบของตัวละครในเรื่อง “ยักษ์” มาจากหุ่นยนต์ที่ “เอ็กซ์ ชัยพร” ออกแบบไตเติลให้ “เวิร์คพอยท์ฯ” เมื่อ 8 ปีก่อน ในตอนจบของรายการเป็นหุ่นยนต์ตัวหนึ่งที่เดินมาแล้วแปลงแขนเป็นอาวุธสงคราม มันเอากองขยะมาประกอบจนเขียนคำว่าเวิร์คพอยท์ ไตเติลนี้ใช้เพียงไม่กี่ครั้ง ประภาสก็ให้ถอดออกเพราะจะเก็บไว้ทำแอนิเมชั่นต่อ
- “หนุมาน” คือตัวละครที่ออกแบบยากที่สุด มีการปรับแก้หลายครั้งกว่าจะได้หน้าตาที่ดูเป็น “ฮีโร่” มากขึ้น
- ตัวละครบางตัวมีการดึงลักษณะเด่นของนักแสดงผู้พากย์เสียงมาเป็นส่วนหนึ่งของรูปลักษณ์ตัวละครด้วย เช่น “หนุมาน” จะแตกต่างจากหุ่นยนต์ตัวอื่น ตรงที่หุ่นตัวอื่นจะมีเสาอากาศไว้รับคำสั่งจาก “ราม” เพียงเสาเดียว แต่หนุมานจะมีสามเสาดูคล้ายทรงเดดร็อกทรงผมของ “เสนาหอย” / “นกสดายุ” ออกแบบโดยอิงจาก “เหมี่ยว ปวันรัตน์” แง่สีผิวและผมม้า / “ก๊อก” หุ่นขายของเก่าก็ออกแบบมาจาก “แจ๊ป เดอะริชแมนทอย”
- ตัวละครต่างๆ ในเรื่องนี้ได้ใส่รายละเอียดความเป็นไทยแฝงลงไปด้วยเช่น คิ้วของตัวละครเป็นคิ้วหยักๆ ได้ต้นแบบมาจากหัวโขน ตัวละครอย่าง “กุมภกรรณ” มีรอยสักรูปทศกัณฐ์ที่หน้าอก แต่รอยสักของโลกหุ่นยนต์จะไม่เหมือนกับของคนสักของหุ่นจะเอาเหล็กมาแล้วก็ยิงตะปูติด
- หน้าท้องของตัวละคร “ทศกัณฐ์” ออกแบบมาจากท้องแมลง นอกจากเพื่อความสวยงามแล้ว ข้อดีคือมันสามารถงอเหมือนหุ่นจริงๆ
- ตัวละครหลักในเรื่องนี้ตัวที่ไม่ได้อ้างอิงมาจาก “รามเกียรติ์” คือ “น้องสนิม”
- “น้องสนิม” เป็นอีกหนึ่งตัวละครที่ทำกันหลายรอบ เพราะเป็นหุ่นยนต์ผู้หญิง ต้องออกแบบให้น่ารักนั้นทำได้ยาก ก่อนหน้านี้น้องสนิมเคยมีหน้าตาที่ดูน่ากลัวมากเพราะหน้าเป็นสนิมไปหมด
- ตัวละคร “บรู๊คส์” นักไต่เขา เป็นตัวละครที่ตั้งใจออกแบบให้เหมือน “โน้ต อุดม” โดนตอนแรกทีมงานจะใส่จมูกอันเป็นเอกลักษณ์ลงไปแต่ไม่เข้ากับหน้าหุ่นยนต์เลยเอาออก แต่ถึงอย่างนั้นก็ออกมาคล้ายมากอยู่ดี
- ส่วนชื่อบรู๊คส์นั้น ประภาสตั้งชื่อนี้ เพราะมีความประทับใจมาจากตัวละครบรูกส์ในหนังเรื่อง “The Shawshank Redemption” (1994